วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วัดมิการาม

                                     “วัดธรรมิการาม” 

 สถานะและที่ตั้งวัดธรรมิการามวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร เมื่อ พ.ศ.2503 ตั้งอยู่เลขที่ 86/2 ถนนประจวบฯ ต.ประจวบฯ อ.เมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาณาเขต ดังนี้
 ทิศเหนือ จดหมู่บ้านคลองบางนางรม
 ทิศใต้ จดถนนประจวบฯ
 ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
 ทิศตะวันตก คลองบางนางรม และเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ 95 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา แบ่งออกเป็น 2 คณะตามลักษณะพี้นที่ ดังนี้

คณะใต้
 ตั้งอยู่หลังเขาช่องกระจก เนื้อที่ 63 ไร่ 1 งาน ทิศเหนือจดคลองบางนางรม และเรือนจำจังหวัด เดิมพื้นที่คณะใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม น้ำขังตลอดทางวัดได้เคยอนุญาตให้เอกชนใช้ที่ว่างบางส่วนเป็นที่ล้างแร่ดีบุก และเอกชนรายนั้นได้ถมพื้นที่บางส่วนให้เป็นการตอบแทน แต่ส่วนใหญ่วัดได้จ้างเหมาถมเองอยู่หลายปีกว่าจะได้มาตรฐานดังปรากฏในปัจจุบัน
 ปัจจุบันมีถาวรวัตถุเป็นอันมาก อาทิ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ฌาปณสถาน โรงเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาปฏิบัติธรรมฯลฯ เฉพาะในปี พ.ศ.2536 - 2537 ได้สร้างสิ่งปลูกสร้างสำคัญ หลายแห่งเช่น ศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาพระราชเมธาภรณ์) กุฏิสงฆ์ คสล.สองชั้น จำนวน 9 หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรมมัธยมและหอพักนักศึกษาเป็นต้น
 เมื่อเริ่มแรกการก่อตั้งวัด ใช้พื้นที่ตรงที่เป็นคณะเหนือ ต่อมา พ.ศ.2497 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยพันตำรวจเอก ตระกูล วิเศษรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยคณะกรรมการจังหวัดได้มอบสิทธิการดูแลรักษาเขาช่อง กระจก และบริเวณโดยรอบให้แก่วัดธรรมิการาม เขาช่องกระจกจึงเป็นส่วนหนึ่งของวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 ลักษณะของวัดธรรมิการาม ถ้ามองเผินๆ ดูเหมือนไม่ใช่วัดเดียวกันเนื่องจากอยู่หางกันพอสมควรโดยมีคลองบาง นางรมกั้นกลาง เมื่อ พ.ศ.2475 ทางวัดได้สร้างสะพาน ให้ชื่อว่า "สะพานรัตนาวดี" เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นไม้เนื้อแข็งข้ามคลองบางนางรมไปเชื่อมกับไหล่เขาช่องกระจก และสร้างถนนเลียบไปตามไหลเขาเข้าสู่ตัวเมือง โดยพระอุดมโยธาธิยุทธ นายช่างใหญ่กรมโยธาเทศบาล เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง
 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2485 ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ทั้งประเทศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกิดมรสุมอย่างรุนแรง วัดธรรมิถูกน้ำท่วมและพายุพัดเสียหายหนัก และสะพานรัตนาวดีก็ถูกน้ำพัดพังการคมนาคมติดขัดการเดินทางไปมาระหว่างคณะเหนือคณะใต้ต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ ภิกษุสามเณรและศิษย์วัด ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งกว่าจะบูรณะซ่อม แซมอยู่ในสภาพปกติได้ก็ใช้เวลาหลายปี

เสนาสนะภายในวัด
 การสร้างวัด พระยาดำรงธรรมสารและคุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) ได้อุทิศที่ดินจำนวน 32 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เพื่อสร้างวัดและได้ลงมือก่อสร้างเมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2465แล้วตั้งชื่อวัดว่า "วัดธรรมิการาม" ซึ่งคงได้มีความหมายว่าเป็นวัดประจำตระกูลคำรงธรรมสาร เมื่อก่อสร้างเสนาสนะแล้วเสร็จพอควรแล้ว ท่านเจ้าคุณและคุณหญิงดำรงธรรมสารก็ได้ขอให้พระสงฆ์ส่งพระไป เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อไป
 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2465 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสได้ส่งพระครู ูเมธังกร(เป๋า อภิวฑฺฒโน นิโลดม) มาเป็นเจ้าอาวาส งานสำคัญชิ้นแรกของท่านเจ้าอาวาสรูปแรกวัดนี้ ได้แก่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์2465 ซึ่งเมื่อวันมาฆบูชา ท่านได้ชวนพุทธศาสนิกชนท้องถิ่นนี้ ร่วมกันทำพิธีเวียนเทียนวันมาฆมบูชา ปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกชนมาร่วมบำเพ็ญกุศลในวันนี้เป็นจำนวนมาก นับเป็นครั้งแรกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีพิธีวันมาฆบูชา

คณะเหนือ
 พื้นที่ยาวไปตามฝั่งทะเล ลักษณะนูนเป็นหลังเต่า รูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า เนื้อที่ 32 ไร่2 งาน 60 ตารางวา ถาวรวัตถุที่ตั้งอยู่คณะนี้ มีพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์และที่พักอุบาสิกา วันที่ 8 เมษายน 2466 คณะสงฆ์อนุญาตให้วัดธรรมิการามป็นสำนักเสงฆ์ ร.ศ.121 และหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็ได้รับราชทานวิสุงคามสีมา

 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ช่วงที่ กำลังก่อสร้างวัดนี้ อยู่ในรัชสมัของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โดยที่เขตวัดกับเขตพลับพลาที่ประทับแปรพระราชฐานอยู่ใกล้ชิดกันพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า อินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินีได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการก่อสร้างวัด และทรงพอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าที่นางเธอพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคเสด็จไปทรงวางแผ่นศิลาฤกษ์เพื่อการก่อสร้างพระอุโบสถแทนพระองค์ เมื่อการก่อสร้างพระอุโบสถได้ดำเนินไประยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานปูชนียวัตถุและปูชนียสถานแก่วัดธรรมิการามหลายอย่าง คือ

พระประธาน
 1. พระพุทธรูปแบบพระพุทธชินราช ปางสุโขทัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 กำ (1.54 ซม) สำหรับ ประดิษฐานเป็นพระประธานประจำอุโบสถ มาจนถึงทุกวันนี้
 2. พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าหล่อด้วยโลหะ
 3. ธรรมาสน์กูบช้าง ชั้นโท ปิดทองคำเปลว 1 ธรรมาสน์
 4. พัทธสีมาหินสลักลาย ประดิษฐานไว้รอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ
 5. พระราชทานราชทรัพย์จำนวนหนึ่ง สำหรับก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม

 หลังจากเจ้าคุณดำรงธรรมสาร ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว คุณหญิงดำรงธรรมสาร ได้ชักจูงน้องสาว คุณเนื่อม ชำนาญชาติศักดิ์ดา และน้องเขย นายพันโทพระชำนาญ ชาติศักดิ์ดา มาช่วยบำรุงวัดธรรมิการาม ร่วมกัน และปรากฏว่า คุณเนื่อม ชำนาญชาติศักดิ์ดา ได้เป็นกำลังสำคัญยิ่งในการพัฒนาวัดนี้ ท่านได้บริจาคทรัพย์ขณะมีชีวิตอยู่ แม้ท่านล่วงลับไปแล้วก็ยังปรากฏว่าท่านได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่วัดธรรมิการามเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยให้วัดธรรมิการามได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนได้รับยงย่องจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น "วัดพัฒนาตัวอย่าง" เมื่อ พ.ศ.2507 และประการสำคัญได้รับพระราชทานสถาปนา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2503 ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นสูงพอสมควรสำหรับวัดในหัวเมืองจะพึงได้รับ

พระอุโบสถคณะเหนือ
 พระอุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2466 การก่อสร้างคงจะสร้างไล่เลี่ยกับการก่อสร้าง เสนาสนะอื่นๆ ของวัด เช่นกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ระหว่างที่มีการก่อสร้างต่างๆ อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า อินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดพระเนตรการก่อสร้างและเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอรพินท์เพ็ญภาคเสด็จแทนพระองค์ไปในการวางแผ่นศิลาฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่เนื่องจากประสบอุปสรรคหลายประการ การก่อสร้างอุโบสถจึงล่าช้ามาก สาเหตุสำคัญน่าจะได้จากการที่วัดไม่มีเงินหรือจำกัด แต่จำเป็นต้องนำไปก่อสร้างเสนาสนะอื่นที่มีความจำเป็นมากกว่า เช่นกุฏิสงฆ์ (เพื่อพระสงฆ์สามเณรจะได้มีที่พักอาศัย) ศาลาการเปรียญ (เพื่อชาวบ้านจะได้มีสถานที่บำเพ็ญกุศล) และโรง เรียนพระปริยัติธรรม (เพื่อการศึกษาของภิกษุสามเณร) จึงจำเป็นต้องชะลอการก่อสร้างอุโบสถออกไป

 ได้เริ่มก่อสร้างอุโบสถอย่างจริงจึงราวปี พ.ศ.2481 และเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2482 ท่านพระครูธรรมาภิวัฒน์ เจ้าอาวาส และคุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) กับคณะสงฆ์ข้าราชการพ่อค้าคหบดีและประชาชนได้ร่วมกันจัดงานปิดทองลูกนิมิตและ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 26-28 เมษายน 2582 ในการนี้ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้กรุณา เป็นองค์ประธานตอลดเวลา และประทานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (หล่อด้วยโลหะทองเหลืองขนาด 16 นิ้ว) ให้แก่วัดธรรมิการาม 1 องค์ ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ

ลักษณะ
 เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์จีน ขนาดภายในกว้าง 6.90 เมตร ยาว 13.60 เมตรประตูหน้าหลัง ด้านละ 2 บาน แต่ละบานกว้าง 1.25 เมตร สูง 2.25 เมตร หน้าต่าง 10 ช่องมีเหล็กดัดลวดลายไทยทุกช่อง ระเบียงข้าง กว้าง 1.90 เมตร ยาว 18 เมตร ระเบียงหน้าหลังกว้าง 1.90 เมตร บันไดหน้าหลังด้านละ 2 ช่อง เสารอบพระอุโบสถ 24 ต้นหลังคาลดระดับ 1 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องว่าวช่อฟ้า ใบระกา เป็นรูปปั้นพญานาค หน้าบันลวดลายไทยปั้น เป็นรูปกงล้อธรรมจักรประดิษฐานบนพานแวนฟ้า

สถานที่ตั้ง
 ตั้งอยู่เลขที่ 86/2 ถนนประจวบฯ ต.ประจวบฯ อ.เมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
 หมายเลขโทรศัพท์ 032604308 หมายเลขโทรสาร 032604307 

วัดธรรมิการาม

วัดธรรมิการาม การเดินทางมายังวัดธรรมิการาม ไม่ใช่เรื่องยาก ด้วยความที่เป็นวัดขนาดใหญ่มีพื้นที่กว้างขวางและอยู่เชิงเขาช่องกระจก จากถนนเพชรเกษมถึงแยกที่รู้จักกันดีในนาม แยกประจวบ เลี้ยวซ้ายเข้าเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงข้ามสะพานสูงจากนั้นจะมองเห็นวัดแห่งนี้ได้ ตรงมาเรื่อยๆ จนถึงทางแยกเชิงเขาช่องกระจกจะมีทางเลี้ยวซ้ายไปยังลานจอดรถหน้าวัดธรรมิการาม ซึ่งบริเวณนี้เรียกว่าคณะใต้ เป็นส่วนที่สร้างขึ้นมาในยุคหลังแต่ใหญ่และสวยงาม โดยเฉพาะจะได้เห็นพระอุโบสถที่เด่นตระหง่านอยู่กลางพื้นที่บริเวณของวัด




                                                               กลับหน้าหลัก>>>


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น